<---- กลับไปหน้าหลัก | | |
----ลิงค์ย่อย ภายในหัวข้อ---ขั้นตอนการวาดการ์ตูน CGการวาดการ์ตูนเบื้องต้น | การร่างภาพ | การตัดเส้น | |
|
หัวข้อ :: ขั้นตอนการวาดการ์ตูน CGว่าด้วยเรื่อง :: การวาดการ์ตูนเบื้องต้นรายละเอียด ::จากหัวข้อ พื้นฐานที่ควรรู้ในการวาดการ์ตูน และ วิธีการวาไอเดีย ที่บอกถึงพื้นฐานการวาดการ์ตูน ว่าจะวาด ปาก ทรงผม จมูก อย่างไร และจะหาไอเดียการวาดการ์ตูนยังไงดีในหัวข้อนี้จะบอกถึง การวาดองค์ประกอบทั้งหมด อาทิ การ วาดเครื่องแต่งกาย การวาดแบบผสมผสาน(ต่อ)แบบละเอียด ต่อจากหัวข้อ ออกแบบผสมผสาน เลือกอะไรเป็นหลักในการผสมคราวนี้คำถามต่อไปคือ เราจะผสมอย่างไรดีอย่างแรกเลยเราต้องเลือกโครงสร้างพื้นฐานก่อนครับว่า เราจะเอาไรเป็นหลัก เช่นถ้า คนกับต้นไม้ ระหว่างเอาคนเป็นหลักกับต้นไม้เป็นหลักผลลัพธ์ก็ต่างกันมากแล้วเปอร์เซ็นต์ในการผสมผสาน มีผลแค่ไหนตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือกที่จะวาดคนกับแมว ไม่ได้แปลว่าจบแค่นั้น เรายังต้องวาดโดยกะว่า คนกี่เปอร์เซ็นต์ แมวกี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะออกมาในแบบที่เราต้องการ แล้วจะกะอย่างไรดี ไม่มีเครื่องชังตวงหรอกครับก็คงต้องตามความรู้สึกของเราและถ้าเราใช้องค์ประกอบของส่วนแมวมากเท่าไหร่ รูปร่างคนจะน้อยลงไป เท่านั้น ในตรงกันข้าม ถ้าเราเอาคนเป็นหลังก็เช่นกันความเป็นแมวก็จะน้อย เช่นเติมแค่หูแมว เราอาจจะนำแค่บางส่วนของสิ่งที่เราต้องการมาใช้รวมกับการออกแบบก็ได้ ที่เห็นได้บ่อย เช่น เขา ปีก หาง มือ เขี้ยว กรงเล็บ ซึ่งของสัตว์แต่ละประเภทก็จะไม่เหมือนกัน และให้ความรู้สึกของคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันด้วยผสมลงไปส่วนไหนได้บ้าง ?ในกรณีที่ใช้คนเป็นหลัก ถ้าเรามองร่างกายเป็นหลาย ๆ ส่วน เราเลือกวัตถุดิบอย่างใดอย่างหนึ่งมาผสม การใส่เข้าไปในตำแหน่งต่าง ๆ ในร่างกายที่แตกต่างกัน ก็ส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายในการออกแบบได้มากขึ้นด้วย การแบ่งสัดส่วนนั้นไม่มีหลักตายตัว อาจจะใช้หลาย ๆ ส่วนพร้อมกัน เช่นท่อนล่างของร่างกายทั้งหมดเป็นม้า ส่วนเอวขึ้นไปเป็นคนก็ได้ หรืออาจจะเปลี่ยนแค่ดวงตาหรือนิ้วก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสม จำนวนก็สามารถเพิ่มเข้าไปได้จากปกติในทางตรงกันข้ามก็สามารถลดได้ บางครั้งโครงหลักของตัวละครที่สร้างขึ้นมาก็อาจจะ ผสมจากสัตว์หลาย ๆ อย่าง และเพิ่มหรือลดจำนวน แขนขาองค์ประกอบหลัก หรือแต่ละส่วนแยกชิ้นผสมไปผสมมาจนดูไม่ออกมาจากตัวหลักอะไรก็ได้ หรือที่เรียกว่า สัตว์ประหลาดนั้น ล่ะมีหลักการอะไรในการเลือกวัตถุดิบมาผสมหรือเปล่าพื้นฐานเบื้องต้นคือ ลองนึกโจทย์ของตัวละครที่เราตั้งไว้ว่า เรานึกถึงความรู้สึกแบบไหนที่เราอยากให้ตัวละครนั้นเป็น แล้วลองนึกถึงวัตถุดิบที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ หรือนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ไฟ(ร้อนแรง) ความมืด(น่ากลัว) น้ำแข็ง(เย็น สงบ) ปีกค้างคาว (ปีศาจ แวมไพร์ ความมืด ) โครงกระดูก(ความตาย) ลูกแมว แฮมสเตอร์ กระต่าย (น่ารัก) และอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างเช่น ถ้าเราต้องการสร้างตัวละคร ที่มีความรู้สึกน่ากลัว เข็มแข้งก็ลองมองว่าวัตถุดิบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น ในเรื่องสีของตัวละครก็มีผลเช่นกันกับความรู้สึกของตัวละครซึ่งจะพูดถึงในเนื้อหาหลังจากนี้ บางอย่างอาจเป็นสัญลักษณ์สากลที่เมื่อใช้แล้วนึกถึงสิ่งนั้น ได้ เช่น ฟังทองที่เจาะเป็นรูปหน้า หรือโทนสีส้ม ดำ เหลืองก็อาจนึกถึงเทศกาลฮาโลวีน ไม่ควรเลือกผสมกับหลายชนิดเกินไป เพราะจะทำให้จัดการได้ยาก ในกรณีเลือกสิ่งที่มาผสมเพื่อสร้างตัวละครนั้น ถ้าส่วนโครงสร้างหลักนำหลาย ๆ สิ่งมาผสมกันจะทำให้ไม่รู้ว่าจุดเด่นคืออะไร อยู่ตรงไหน แต่ถ้าสามารถจัดการเน้นจุดเด่นของตัวละครออกมาได้ ด้วยส่วนประกอบอื่น ๆ ที่นำมาผสม และช่วยส่งเสริมจุดเด่นนั้นได้ด้วยก็จะดีมากถ้าเลือกวัตถุดิบ หรือรูปแบบการผสมพื้นฐานแบบเดียวกันก็ย่อมจะมีภาพลักษณ์คล้ายกันทั้งวัตถุดิบที่นำมาผสม และตำแหน่งบนตัวละครที่เราจะเอาไปผสมนั้น หากเราเลือกใช้สิ่งที่เห็นได้ทั่วไป และใช้ในส่วนที่คนใช้นิยมใช้กัน ก็อาจจะมีตัวละที่ไหนสักตัวที่เคยทำแบบนี้มาแล้ว แปลว่า ไม่ดีหรือเปล่าครับ เปล่าอาจจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่นถ้าอยากออกแบบนางฟ้าก็เอาผู้หญิงมาใส่ปีกกลางหลัง จะทำให้ดุเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว ซึ่งก็เป็นใบหน้าของผู้วาดที่เพิ่มเติมให้น่าสนใจ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ให้โดเด่นขึ้นมาแต่หากจะระวังไม่ให้ใช้วัตถุดิบซ้ำกับใครเลยก็คงจะยาก เมื่อลงสังเกตดูตัวละครหลาย ๆ ตัวก็จะพบว่า มีองค์ประกอบ เอกลักษณ์หรือจุดเด่นของสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้เช่นกันสิ่งเกี่ยวข้อง ใกล้เคียงกัน หรือเชื่อมโยง ถึงกันได้ง่าย เมื่อนำมารวมกันจะเข้ากันได้ไม่ยากทั้งด้านรูปธรรม และนามธรรม เช่น ตัวอย่างที่ว่า พูดถึงเมืองจีนนึกถึงแพนด้า และชุดจีนถ้าเป็นแพนด้าใส่ชุดจีนเข้ากันดี หรืออาจจะจัดเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกันในด้านความรู้สึก เช่น ของน่ารัก ๆ เมื่อนำมาผสมกันในด้านความรู้สึก เช่น ของน่ารัก ๆ เมื่อนำมาผสมกันก็เข้ากันได้ง่าย ของน่ากลัวก็เช่นกัน แต่ในทางตรงกนข้ามถ้าเราเอาของที่ไม่เข้ากันเลย ดุแล้วตรงกันข้ามมาผสมกันแล้วมีการปรับจัดการจุดเด่นได้เหมือนกัน(คล้ายกับหลักการใช้สีตรงกันข้ามของทฤษฎีสี) ในการออกแบบนั้น เราย่อมที่จะมีแรงบันดาลใจจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจจะมาจากตัวละครที่มีอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาจากตัวละครนั้นเอามาวาดใหม่ตามต้นแบบก็คงจะไม่เกิดประโยชน์สักเท่าไรในการฝึกเรื่องแนวคิด แต่ถ้าเราเอามาวิเคราะห์ว่า คนออกแบบนั้นใช้วัตถุดิบอะไร มาผสมผสานจนเป็นตัวละครนี้ออกมาใช้อะไรเป็นองค์ประกอบของตัวละครบ้างที่ทำให้ภาพลักษณ์ของตัวละครเด่นชัดออกมา และสื่อได้ คิดอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบนี้ หากเรารู้จักประยุกต์วัตถุดิบที่หลากหลาย หรือหาข้อมูลในสิ่งที่จะนำมาใช้งานได้นำสนใจ เพื่อตอบโจทย์ของลักษณะตัวละครที่เราต้องการได้ เราก็สามารถผสมผสานสิ่งที่เราวิเคราะห์มาเพื่อสังเคราะห์สร้างงานใหม่ได้หลากหลายยิ่งขึ้นเครื่องแต่งกายที่มีผลต่อตัวละครในเรื่องเครื่องแต่งกายตัวละครเอง ก็จำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลวัตถุดิบระดับหนึ่งเช่นกันครับ เพื่อนำมาผสมผสานสร้างชุดให้เหมาะสมกับตัวละคร เพราะชุดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่บอกหลาย ๆ อย่างของตัวละครได้ เช่น อาชีพ นิสัย สภาพสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆไม่ว่าจะเป็นตัวละครในโลกปกติ หรือโลกแฟนตาซีก็ตาม หากเรากำหนดราระเอียดบางตอนของตัวละครได้ก่อน ก็จะทำให้สามารถกำหนดลักษณะชุด รูปแบบของเครื่องประดับ และสีสันของชุดได้ง่ายขึ้นวัฒนธรรม สังคม ผสมผสาน ข้อมูลจริง ประวัติศาสตร์ อารยธรรมชุดที่มีอยู่จริงก็เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นชุดในยุตปัจจุบันที่เห็นจนชินตาก็อาจจุหาข้อมูลได้ง่ายหน่อยแต่ถ้าเป็นชุดในอารยธรรมในอดีตก็ต้องค้นหาข้อมูลอ้างอิงกันบ้าง ซึ่งจะนำมาใช้เลย หรือนำองค์ประกอบบางส่วนมาดัดแปลง มาประยุกต์ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นหน้าที่ ข้อมูลเฉพาะของตัวละครนั้นตัวละครนั้น มีหน้าที่อะไร อาชีพอะไร ทำอะไรบ้าง ถ้าเป็นอาชีพฐานในโลกแฟนตาซีทั้งหลาย เช่น นักดาบ นักเวทย์ก็สามารถแสดงจุดเด่นได้ง่าย เพราะมีภาพลักษณ์พื้นฐานที่คนทั่วไปรับรู้ในระดับหนึ่ง (นักดาบมีเกราะ มีดาบ) หรือถ้าเป็นอาชีพทั่วไป ก็จะมีลักษณะของแต่ละชุดที่จะดึงออกมาให้เห็น แต่ถ้าตัวละครที่ไม่ต้องการบ่งบอกข้อมูลนี้จัดเจนก็ไม่จำเป็นเวลา อดีต ปัจจุบัน และอนาคตอันแสนไกลอาจจะเกี่ยวเนื่องกับอายธรรมกับประวัติศาสตร์ด้วยไม่ว่าจะเป็นชุดในยุคหิน หรือชุดแนวอวกาศ ก็สามารถบ่งบอกเวลาที่ตัวละครนั้นอยู่ได้ในระดับหนึ่งการออกแบบที่แสดงว่า อยู่ในองค์กร หรือกลุ่มที่ความสัมพันธ์กันยกตัวอย่าง ที่ชัดเจนมากก็พวกขบวนการ สี ครับ คือ เป็นการออกแบบให้รู้ว่า กลุ่มนี้พวกเดียวกัน ดีไซน์เดียวกันอาจจะมีจุดร่วมเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง หรือรูปแบบของชุดสัญลักษณ์สากลที่มีความหมายเฉพาะ ที่ใช้บนชุดเช่น เครื่องหมายกาชาด (กากบาทสีแดง) ก็มักจะใช้กับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล หรือลายพรางก็เป็นของชุดทหาร เป็นต้น จริง ๆ แล้วทั้งหมดนี้เป็นแค่หัวข้อตัวอย่างเบื้องต้น เท่านั้น โดยหลัก ๆ ก็คือ การกำหนดรายละเอียดของตัวละคร ที่จะส่งผลต่อรูปแบบเสื้อผ้าที่ใส่ขึ้นมาให้ชัดเจน หัวข้อต่าง ๆ เหล่านี้หากเราคิดไว้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการออกแบบ ให้เราหาข้อมูลที่เกี่ยว และนำมาผสมผสานได้ง่ายขึ้น และบางหัวข้อก็สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องกันได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องบอกไว้ก็คือ ไม่จำเป็นที่ตัวละครจะมีรายละเอียดมากมาย ครบทุกหัวข้อ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับตัวละครที่เราสร้างขึ้นมาด้วย |
|
|