|
หัวข้อ :: โทนสีและหลักการลงสี
ว่าด้วยเรื่อง :: ทฤษฎีของสี
รายละเอียด ::
รู้กันหรือเปล่าว่าพวกเราโชคดีมากที่ได้รู้ความสวยงามจากสีสันบนโลกใบนี้ สัตว์อื่น ๆ นอกจากจะเห็นโทนสีได้จำกัดแล้ว สัตว์บางชนิดไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นสีเลย สีที่เราเห็นรอบ ๆ ตัวเกิดจากแสงตกกระทบวัตถุ สะท้อนคลื่นแสงระดับต่าง ๆเข้ามาที่ดวงตา ทำให้เห็นสีออกมาได้ถึง 7 สี ช่วงสีแดงมีช่วงคลื่นคลื่นยาวและสีม่วงมีช่วงคลื่นสั้น คลื่นแสงที่สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้แก่ คลื่นแสงอินฟราเรด (Infrared) ที่มีช่วงคลื่นความถี่ต่ำกว่าละดับที่มองเห็น กับคลื่นแสงอุลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet) ที่มีช่วงคลื่นความถี่สูงกว่าระดับที่เรามองเห็น
ทฤษฎีสี
พอพูดว่า ทฤษฎีสี เราอาจฟังยุ้งยาก แต่ไม่ต้องกังวลเพราะเราจะกล่าวถึงส่วนที่เข้าใจง่ายและเอื้อประโยชน์ให้กับการลงสีเบื้องต้น เรื่องทฤษฎีสีสำหรับนักวาดการ์ตูนประกอบแล้วเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมาก เพราะถ้าเราเลือกสีไม่ดี ภาพของเราอาจดูแย่เหมือนกันนะ อันดับแรกเราต้องมารู้จักวงจรสีกันก่อน
วงจรสี
วงจรสีเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการเลือกสี โดยเราจะใช้วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่า
สีไหนใกล้เคียงกับสีไหน นั่นก็คือ ความเข้ากัน,กลมกลืนกัน เช่นแดงใกล้กับม่วงแดง , ส้มใกล้กับเหลือง แสดงว่าสีเหล่านี้กลมกลืนเข้ากันได้ สีกลมกลืนกันนั้นถ้านำมาเกลี่ยเชื่อมกันกันจะผสมกันได้อย่างลงตัวทำให้ไล่สีเชื่อมต่อกันได้ สีตรงกันข้ามกัน ก็แสดงถึงความตัดกันซึ่งสีที่ตัดกันมี ดังนี้ แดง/เขียว, ส้ม/น้ำเงิน, เหลือง/ม่วงแก่, เขียวอ่อน/ม่วงแดง, โอลต์โรส(ส้มออกแดง)/เขียวน้ำทะเล(เขียวอมฟ้า),ส้มเหลือง/น้ำเงินอมม่วง สีที่ต่อกัน ถ้าน้ำมาเกลี่ยเชื่อมกันจะไม่สามารถไล่เชื่อมกันได้สนิทต้องมีสีอื่นช่วยคั่น ให้คิดง่าย ๆ ว่าถ้าเอาสองคนไม่ถูกันมาอยู่ด้วยกัน ก็ต้องมีคนหกลาง มาไกล่เกลี่ยให้
ความเป็นสีแท้ (Hue)
ความเป็นสีแท้ คือ สีแท้ที่นำมาเป็นแม่สีหรือจุดกำเนิดสี ลองลาก 3 เหลี่ยมด้านเท่าในวงจรสีขึ้นมา สีแดง,เหลืองและน้ำเงิน คือ แม่สีที่สามารถแตกแยกย่อยออกไปได้อีกหลากหลายสีและเป็นต้นกำเนิดของสีในการผสมสี
ค่าน้ำหนักของสี (Values)
ค่าน้ำหนักของสี หมายถึง สีซึ่งสัมพันธ์กับความเบาบาง-หนัก หรืออ่อน-แก่หรือความสว่าง-ความมืด ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไป สีนั้นจะสว่างขึ้นหรือมีน้ำหนักอ่อนลงที่เรียกว่า สีค่าอ่อน (Tint) และหากเราผสมสีดำเข้าไปสีนั้นจะมืดขึ้นมีความเข้มขึ้นที่เรียกว่า สีค่าแก่(Shade)
การวางโครงสี (Color Schematic)
การวางโครงสี คือ การจับคู่สีหรือการเลือกสีมาใช้ตามหลักทฤษฎีสี เพื่อเลือกสีมาใช้ตามหลักทฤษฎีสี เพื่อเลือกสีมาใช่ร่วมกันในภาพได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ภาพออกมาดูดีและน่าสนใจ
การวางโครงสีแบบต่าง ๆ
Analogous คือ การเลือกใช้สีใกล้เคียงกับวงจรสี สามารถเลือกได้ 2-4 ไม่ควรมากเกินนี้ เพราะจะหลุดจากโทนสีที่กำหนดไว้
Dyads คือ การเลือกใช้ใช้คู่สีตรงข้ามวงจรสี ใช้เพื่อให้ภาพเกิดสะดุดตา แต่หาก 2 สีที่เป็นคู่ตรงกันข้ามกันถูกดึงมาใช้งานในภาพเดียวกันโดยมีน้ำหนักเป็นเท่า ๆ กันอาจทำให้ภาพขาดเอกภาพได้ เราควรจึงกำหนดสัดส่วนของภาพด้วยว่ามีสีใดมีน้ำหนักมากกว่าอีกสีหนึ่งเพื่อให้ลงตัวขึ้น
- การเลือกสี 3 สี ในวงจรดระยะห่างระหว่าง 3 สีเท่า ๆ กัน เป็นรูป 3 เหลี่ยมด้านเท่า
- การเลือกสี 3 สี ในวงจรโดยระยะห่างระหว่าง 3 สีห่างไม่เท่ากัน เป็นรูป 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว
Tetrads คือ การเลือกใช้สี 4 สีซึ่งการเลือกใช้สีวิธีนี้เป็นวิธีที่ยากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่มีประสบการณ์น้อยอยู่ การเลือกสีแบบ 4 สี แบ่งออกเป็น
- เลือก 4 สีโดยมีระยะห่างเท่ากันในวงจรสีเป็น 4 เหลี่ยมจัตุรัส
- เลือก 4 สีโดยมีระยะห่างของสีไม่เท่ากันเป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้า
วรรณะของสี (Tone of Color)
วรรณะของสีคือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูงกับสียงต่ำที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกรันทดใจ
สีที่อยู่ในวรรณะร้อน (Warm Tone Color)
ได้แก่ สี สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง สีกลุ่มนี้เมื่อเราใช้งานจะรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง สนุกสนาน
สีที่อยู่ในวรรณะเย็น (Cool Tone Color)
ได้แก่ สีม่วงคราม สีเขียว สีฟ้า สีกลุ่มนี้เมื่อใช้งานจะได้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย
|