<--- กลับไปหน้าหลัก | | |
-- ลิงค์ย่อย ของหัวข้อ --โทนสีและหลักการลงสี |ทฤษฎีสี | ทฤษฎีของแสง และ เงา | หลักการลงสี | การลงสีพื้นผิวสิ่งมีชีวิต | การลงสีพื้นผิวสิ่งที่ไม่มีชีวิต | |
|
หัวข้อ :: โทนสีและหลักการลงสีว่าด้วยเรื่อง :: ทฤษฎีของแสง และ เงารายละเอียด ::แสงเงาในการทำภาพสีเราเคยเกริ่นเรื่องแสงเงามาบ้างแล้วให้การวาดการ์ตูนคอมมิคขาวดำ แต่สำหรับการทำภาพสีนั้นจะมีรายละเอียดนั้นจะมีรายละเอียดของแสงเงาที่ลึกลงไปอีก ในการลงสีภาพให้ดูมีชีวิตชีวา มีมิติขึ้นมาได้นั้น ต้องอาศัยเรื่องแสงเงาเข้าช่วยด้วยเป็นอย่างมากแสงกับการบ่งบอกช่วงเวลาในการลงแสงเงานั้นนอกจากการให้ความรู้สึกและบรรยากาศของภาพแล้ว หารให้แสงยังสามารถบ่งบอกช่วงเวลาและบ่งบอกฤดูการได้ เช่น แสงของฤดูร้อนไม่เหมือนแสงในฤดูฝนแสงเงาจากวัตถุรูปทรงพื้นฐานเราจะเริ่มหัดแรเงาจากวัตถุเรขาคณิตรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงกลม,สี่เหลี่ยม,สามเหลี่ยม,ทรงกระบอก, ฯลฯ หรือจะหัดกับพวกหุ่นนิ่งก็ได้ ยิ่งรูปทรงซับซ้อนขึ้นแสงก็จะหักเหให้เกิดเงาได้หลากหลายจุดมากเท่านั้นการกำหนดทิศทางของแสงเมื่อเรามีภาพ 1 ภาพ วัตถุหลักของภาพไม่ว่าจะเป็นตัวละครหรืออะไรก็ตาม หากไม่มีการกำหนดทิศทางของแสง เพื่อให้เกิดเงา ภาพที่ออกมาจะแบน การกำหนดทิศทางของแสงแบบ ต่าง ๆ ว่าจะมาจากจุดไหน จะมีผลทำให้ภาพดูมีมิติขึ้น และในการใช้งานจริงไม่จำเป็นว่า ทิศทางของแสงจะต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว ในส่วนนี้จะเป็นตัวอย่างของการกำหนด ทิศทางโดยทั่วไป สำหรับเรื่องแสง เมื่อใช้งานจริงแล้ว ควรจะรู้เรื่องพวกนี้ไว้ แต่ไม่ต้องยึดติดมาก จะต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่ง นอกจากทิศทางของแสงโดยทั่วไปแบบนี้แล้ว ทิศทางของแสงอื่น ๆ ที่เรากำหนดได้นั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา ไม่ว่าจะให้แสงมาจากด้านล่างแบบในหนังผีที่นิยมใช้กัน หรือแบบอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนสำคัญคือ การกำหนดจุดกำเนิดของแสงนั้น สัมพันธ์อย่างมากกับความเข้าใจในรูปทรงของสิ่งที่จะวาด เช่น เราเข้าใจว่ากำลังวาดสิ่งของนูนขึ้นมาจากพื้นที่เรียบเมื่อกำหนดด้านหนึ่งของแสง อีกด้านหนึ่งย่อมเป็นเงา ส่วนในรูปทรงที่ซับซ้อนขึ้นไป ที่มักจะทำให้เราสับสนเรื่องแสงเงา ให้พยามมองวัตถุที่จะวาดเป็นโครงสร้าง 3 มิติ รูปทรงแบบเลขาคณิตพื้นฐานก่อน เช่นทรงกลม ทรงกระบอก กรวย จะทำให้เข้าใจแสงและเงาที่จะวาดได้ง่ายขึ้นปริมาณของแสงที่สัมพันธ์กับภาพในการวาดภาพนั้น นอกจากทิศทางของแสง ปริมาณความสว่าง-มืดของแสงก็มีผลสำคัญมาก ๆ ต่ออารมณ์ของภาพ ในตอนนี้เราลองเอาตารางขั้นน้ำหนักของสีมาเทียบดูกับปริมาณการใช้แสงในภาพขาวดำเพื่อมี 2 ส่วนสำคัญ คือ1. ปริมาณแสงของทั้งภาพโดยร่วม 2. ความแตกต่างระหว่างค่าน้ำหนักสีเข้มสุดกับอ่อนสุดในภาพ |
|
|